ดอกงิ้ว
สมุนไพรดอกงิ้ว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า งิ้วบ้าน (ทั่วไป), งิ้วแดง (กาญจนบุรี), งิ้วปง งิ้วปกแดง สะเน้มระกา (ชอง-จันทบุรี), งิ้วป่า, งิ้วปงแดง, งิ้วหนาม, นุ่นนาง, ตอเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ปั้งพัวะ (ม้ง), บักมี้ (จีน) เป็นต้นผลมีลักษณะยาวรีคล้ายฝักรูปทรงกระบอก ที่ปลายทั้งสองข้างของผลจะแหลม ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล เปลือกของผลแข็ง มีความยาวประมาณ 6-8 นิ้ว และเมื่อแก่จัดจะแตกอ้าออกตามรอยประสาน ในผลมีเส้นหรือปุยสีขาวและมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามปลายกิ่งหรือตามปลายยอด ดอกมีขนาดใหญ่สีชมพูแกมเลือดหมู สีแดง สีแสด และมีที่เป็นสีทองแต่หาได้ยาก ดอกมีกลิ่นหอมเอียน ออกดอกเป็นกระจุกหรือเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 3-5 ดอก ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วยแข็ง ๆ
สรรพคุณและประโยชน์ทั้งหมดของต้นดอกงิ้ว
- ประโยชน์ของดอกงิ้ว ดอกสดใช้ลวกจิ้มรับประทานกับน้ำพริกและแกงส้ม
- ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (เมล็ด)
- ช่วยแก้อาการคัน (ดอก)
- ช่วยแก้หัวลำมะลอก (เม็ดที่ขึ้นตามตัวเป็นหนองพุพองมีพิษ), หัวดาวหัวเดือน (เม็ดตุ่มที่ผุดขึ้นตามตัว มีพิษมาก มักขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และนิ้วมือนิ้วเท้า) (ใบ)
- ช่วยแก้พิษงูทุกชนิด (ราก,ใบ,ผล)
- ดอกแห้งใช้ทำเป็นยาระงับอาการปวด (ดอก)
- ใบแห้งหรือใบสดนำมาตำใช้ทาแก้อาการฟกช้ำ แก้บวม มีอาการอักเสบ (ใบ, ราก, ดอก, ผล) บรรเทาอาการฟกช้ำบวมจากการกระแทก ด้วยการใช้รากสดนำมาแช่เหล้า ใช้ถูทาหรือตำพอก (ดอก, เปลือกต้น, ราก, เปลือกราก)
- ใช้ทาแก้น้ำร้อนลวก (ดอก)
- ช่วยแก้อัมพาต เอ็นอักเสบ (เปลือกต้น) ใช้แก้คนที่เป็นอัมพาตครึ่งตัว (เปลือกต้น)
- ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประของประเทศมาเลเซียใช้ใบสดนำมาแช่กับน้ำต้มอาบเพื่อใช้รักษาอาการปวดเมื่อย (ใบ)
- เมล็ดใช้เป็นยากระตุ้นความต้องการทางเพศ (ยาง)
- ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของงิ้วแดง มีฤทธิ์ในการต้านไทอะมีนและมีผลต่อลำไส้ของหนูตะเภา และช่วยยับยั้งเอดส์
- ช่วยแก้อาการตกโลหิต เปลือกต้น, ราก, ดอก, ผล
- ช่วยแก้ไตพิการ ไตชำรุด ไตอักเสบ ด้วยการใช้เปลือกต้นงิ้วแดงนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ตากแดดให้แห้ง นำมาต้มกินต่างน้ำทุกวัน (หรือจะเอาน้ำต้มจากเปลือกไปหมักเพื่อทำเอนไซม์ก็ได้) (เปลือกต้น)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น